การเลือกTime frame ในการเทรดฟอเร็กซ์
การเลือกTime frame ในการเทรดฟอเร็กซ์
การเทรดในระหว่างที่ทำการเทรดแต่ล่ะครั้ง เราจะสังเกตเห็นว่า แต่ล่ะไทม์เฟรมของกราฟจะมีรูปแบบที่ต่างกัน ในขณะที่ไทม์เฟรมหนึ่งให้สัญญาณเชลล์ แต่อีกไทม์เฟรมหนึ่งบอกมันกำลังขึ้น สรุปแล้วเราจะเอายังไงกับมันดี ดูแล้วสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูก นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เทรดเดอร์มือใหม่ ตัดสินใจพลาดในการเทรด เพราะพวกเขายังเลือกใช้ไทม์เฟรมไม่เหมาะสม หรือไม่ตรงตามจริตบุคลิกลักษณะการเทรดน์ในสไตล์ของเขา เรามาดูกันว่าในแต่ล่ะไทม์เฟรมมันแตกต่างกันอย่างไร และเหมาะกับนักลงทุนสไตล์แบบไหนบ้าง ซึ่งไม่ว่าจะเทรดสั้นหรือยาว ควรจะดูความแรงของข่าวจากเว็บต่างๆที่มีข้อมูล เช่น www.forexfactory.com
ข้อแตกต่างระหว่างการเลือก Time frame (TF) กับรูปแบบ (stye) การลงทุน
รูปแบบลงทุน/style |
Time frame/ช่วงเวลาเทรด |
ข้อดี/รายละเอียด |
ข้อเสีย/รายละเอียด |
ระยะยาว |
-รายวัน-สัปดาห์-รายสัปดาห์-เดือน-รายเดือน-ปี |
-เห็นเทรนด์มุมมองของราคากว้างขึ้น-ไม่ต้องใช้เวลามาก-เหมาะกับ Trend Following (เล่นตามเทรนด์) |
-การแกว่งตัวอยู่ในวงกว้าง-เทรดได้น้อยครั้ง-ต้องมีบัญชีใหญ่-ต้องใจเย็นและอดทน-ใช้เวลานาน |
ระยะสั้น(สวิง) |
-รายชั่วโมง-สัปดาห์ |
-เทรดได้หลายครั้งกว่าระยะยาว |
-ค่าสเปรดขึ้นลงตามออเดอร์-ความเสี่ยงเพิ่มเมื่อถือข้ามคืน |
ระยะภายในหนึ่งวัน |
– 1 นาที-15 นาที |
-เทรดได้ตลอดทั้งวัน-รู้ผลกำไรขาดทุนเร็วทันใจ |
-ค่าสเปรดเยอะกว่าเพื่อน-ความแม่นในการเทรดน้อยเพราะกราฟขึ้นๆลงๆในช่วงเวลาสั้นๆ |
-
สาหรับเทรดเดอร์บางท่าน เขาจะรู้สึกดีกับการเทรดใน Time frame ที่ 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นกรอบระยะเวลาที่ไม่ยาวมาก สัญญาณเทรดจะมีไม่มากมาก แต่ก็ไม่น้อยเกินไป จึงช่วยให้เราไม่ต้องเร่งรีบ ทำให้มีเวลาวิเคราะห์ตลาด
-
ในการเลือกใช้ Time Frame เพื่อหาจุดเข้าเทรดนั้น จะไม่มีตายตัว เราอาจจะเริ่มดูจาก Time Frame ที่เป็นกรอบระยะเวลามากไปหาน้อย หรือจากน้อยไปหามากก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือเราต้องมองตลาดในภาพรวมให้ได้ก่อน แล้วค่อยหาจังหวะเข้าเทรดใน Time Frame ที่เราถนัด สำหรับมือใหม่จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากการเทรดบัญชีดีโมก่อน เพื่อจะได้เห็นข้อแตกต่างของแต่ล่ะ Time Frame แล้วเลือกใช้ หรือหาจุดเข้าเทรดตามที่ตัวเองถนัด หรือเห็นว่ามันเหมาะสม
-
จะเห็นได้ว่าใน Time Frame ที่ระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้เราสามารถใช้มาร์จิ้นได้ดีกว่า แต่ช่วงที่กำหนด Stop loss จะสั้นหรือเร็ว
-
จะเห็นได้ว่า Time Frame ที่กว้างๆ หรือมีระยะเวลาที่ยาวๆ การกำหนดจุด Stop Loss ก็จะกว้างหรือยาวตามไปด้วย เงินทุนที่มีอยู่ในหน้าตัก จึงต้องมีเยอะๆ พอร์ต้องใหญ่ๆ เพื่อจะได้กันการโดนล้างพอร์ท จากตลาดที่ราคามีการสวิงตัวแรงๆ
การผสมการใช้ Time Frame
เราต้องจำไว้เสมอว่า ตลาดหรือราคาใน Time Frame ที่ใหญ่ๆ เวลาที่กว้างๆ โอกาสในการทำกำไรจะไปได้ไกล และแนวรับแนวต้านจะแข็งแกร่งกว่า Time Frame ที่เล็กหรือระยะเวลาสั้นๆ การที่เราจะเลือกใช้เพื่อหาจุดเข้าออร์เดอร์ Buy หรือ Sell รวมทั้งการกำหนดจุด Stop Loss หรือ take profite เราสามารถดูภาพรวมๆ ของตลาดก่อนว่าราคากำลังไปในทิศทางใด ตลาดกำลังอยู่ใน แพลทเทริ่นอะไร เป็นเทรนด์หรือไซต์เวย์สามารถเลือกดูจาก Time Frame ที่กว้างๆก่อน เช่น TFรายเดือน เดือน,T Fรายสัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยๆซูมเข้ามาเรื่อยๆ เป็น TF รายชั่วโมง จนถึงราย TF รายนาที เพื่อใช้ประกอบการยืนยันที่ดีก่อนที่จะต้ดสินใจเปิดออเดอร์ ซึ่งกล่าวโดยสรุปในการเลือกใช้ Time Frame ก็คือ
-
Time Frame ใหญ่ที่สุด เพื่อใช้เป็นเทรนด์หลักของเรา ซึ่งนี่ทำให้เราเห็นภาพรวมที่เราอยากจะเทรด
-
Time Frame ที่เล็กว่า เรามักจะใช้มันเพื่อดูว่าสัญญาณ Buy หรือ Sell ขัดแย้งกันหรือเปล่า
-
Time Frame ที่เล็กที่สุด จะแสดงเทรนด์เล็ก ๆ และช่วยเราหาจุดเข้า หรือจุดออกจากเทรนด์ที่ดี